• ต้องซื้อชิ้นส่วนต่างๆ ที่ไหน. ร้านคอมที่มีสาขาใหญ่ๆ ตามห้าง จะมีชิ้นส่วนต่างๆ สต็อกไว้พร้อมขาย แต่ถ้าหาซื้อตามร้านหรือผู้ขายในเน็ต ก็จะได้ราคาที่ย่อมเยากว่า ซึ่งก็ต้องเลือกที่คนนิยมหรือร้านดังๆ เหมือนกัน และเช็คเรตติ้งกับรีวิวให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพก็เยอะใช่เล่น
• อย่าเมินพวกอะไหล่มือ 2 โดยเฉพาะที่โฆษณาว่า "เหมือนใหม่" หรือสภาพดี เพราะถ้าเจอร้านที่เชื่อใจได้ บอกเลยว่าชิ้นส่วนประเภทนี้คุ้มมาก ลดเยอะโดยที่ฟังก์ชั่นการใช้งานอยู่ในสภาพดีมาก ร้านคอมที่มีสาขาใหญ่ๆ ตามห้าง จะมีชิ้นส่วนต่างๆ สต็อกไว้พร้อมขาย แต่ถ้าหาซื้อตามร้านหรือผู้ขายในเน็ต ก็จะได้ราคาที่ย่อมเยากว่า ซึ่งก็ต้องเลือกที่คนนิยมหรือร้านดังๆ เหมือนกัน และเช็คเรตติ้งกับรีวิวให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพก็เยอะใช่เล่น
• ศึกษาข้อมูลของทุกชิ้นส่วนที่จะซื้อให้ละเอียด. คุณศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในแมกกาซีนคอมและรีวิวจากผู้ใช้งานจริงในเว็บ บอกเลยว่าขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะคอมจะออกมาเป็นยังไง ขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละชิ้นส่วน
• ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเพิ่มเติมดู ถ้าจะประกอบคอมราคาย่อมเยาไว้เล่นเกม วิธีเลือกชิ้นส่วนในการประกอบคอม และวิธีประกอบคอมแรงๆ แต่เงียบได้ใจ
• มองหารีวิวดีๆ ของชิ้นส่วนที่ตั้งใจจะซื้อ ทั้งในเว็บที่จะซื้อและที่อื่นๆ อย่าไปใส่ใจพวกกราฟหรือข้อมูลสถิติตัวเลขที่เอาไว้โฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะแทบจะเป็นการแต่งตัวเลขให้ดูดีเกินจริง ถ้าเป็นเว็บเมืองนอกที่รีวิวชิ้นส่วนคอมได้น่าสนใจ ก็เช่น Linus Tech Tips, Tom's Hardware และ Gamers Nexus
• พอเจอชิ้นส่วนที่รีวิวดีๆ แล้ว ก็อย่าลืมดูรีวิวไม่ค่อยดีด้วย บางทีอาจจะบังเอิญเจอชิ้นส่วนที่เหมาะกับการใช้งานบางอย่างก็ได้ แค่ไม่ตรงใจคุณ คุณศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในแมกกาซีนคอมและรีวิวจากผู้ใช้งานจริงในเว็บ บอกเลยว่าขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะคอมจะออกมาเป็นยังไง ขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละชิ้นส่วน
• เลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับ CPU. ต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้กับ CPU ของคุณได้ จะรู้ได้ก็ต้องเช็ค socket หรือช่องเสียบ CPU และเมนบอร์ด อีกอย่างคือให้เลือกเมนบอร์ดที่มีสิ่งต่อไปนี้[3] ต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้กับ CPU ของคุณได้ จะรู้ได้ก็ต้องเช็ค socket หรือช่องเสียบ CPU และเมนบอร์ด อีกอย่างคือให้เลือกเมนบอร์ดที่มีสิ่งต่อไปนี้
• เลือกซื้อ RAM. RAM มีหน้าที่เก็บข้อมูลจากโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องมีแรมมากพอ ก่อนจะเลือกซื้อ RAM ต้องเช็คทั้ง CPU และเมนบอร์ดก่อน ว่ารองรับ RAM แบบไหน[4]
• แต่ก็มีจำกัดว่าคอมแต่ละเครื่องจะใช้ RAM ได้สูงสุดเท่าไหร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ CPU (ปกติอยู่ที่ 64 GB) และแอพต่างๆ ด้วย อย่างถ้าโปรแกรมเก็บข้อมูลใน RAM แค่ 1 GB ถึงเพิ่ม RAM ไปก็ไม่ได้ทำให้ใช้งานเร็วขึ้น ส่วนใหญ่เลยแนะนำแรมที่ 8 GB แต่ถ้าเป็นคอมของคอเกม เลือกแบบ 16 GB จะดีกว่า
• อันนี้แล้วแต่เมนบอร์ดที่ใช้ แต่ปกติแนะนำ DDR3 RAM หรือ DDR4 RAM โดยประเภท RAM ที่เมนบอร์ดรองรับ จะมีบอกไว้ในคู่มือเมนบอร์ดเลย RAM มีหน้าที่เก็บข้อมูลจากโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องมีแรมมากพอ ก่อนจะเลือกซื้อ RAM ต้องเช็คทั้ง CPU และเมนบอร์ดก่อน ว่ารองรับ RAM แบบไหน
• เลือกซื้อฮาร์ดไดรฟ์. แปลกแต่จริง ชื่อ hard แต่เลือกง่ายอย่าบอกใคร เพราะฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปนั้นใช้ได้กับแทบทุกเมนบอร์ดและ CPU เลย แต่อาจจะต้องเช็คก่อนว่าฮาร์ดไดรฟ์ที่เลือกซื้อนั้นจะใส่ในเคสคอมที่เตรียมไว้ได้ ที่ต้องซื้อคือฮาร์ดไดรฟ์ SATA ที่จุได้อย่างน้อย 500 GB และต้องเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ อย่าง Western Digital, Seagate หรือ Toshiba
• ถ้าอยากได้ฮาร์ดไดรฟ์เล็กๆ แต่ดึงข้อมูลเร็ว ให้ซื้อ solid state drive (SSD) แทน เป็นไดรฟ์ที่ค่อนข้างแพงกว่าฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปของคอม นิยมใช้เป็นไดรฟ์เสริมของไดรฟ์ที่ใหญ่กว่า
• SSD ปกติจะเชื่อมต่อแบบ SATA โดยรุ่นใหม่ๆ จะใช้ NVMe M.2 หรือ SATA M.2 แต่บางเมนบอร์ดจะไม่รองรับ NVMe หรือ M.2 standard แปลกแต่จริง ชื่อ hard แต่เลือกง่ายอย่าบอกใคร เพราะฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปนั้นใช้ได้กับแทบทุกเมนบอร์ดและ CPU เลย แต่อาจจะต้องเช็คก่อนว่าฮาร์ดไดรฟ์ที่เลือกซื้อนั้นจะใส่ในเคสคอมที่เตรียมไว้ได้ ที่ต้องซื้อคือฮาร์ดไดรฟ์ SATA ที่จุได้อย่างน้อย 500 GB และต้องเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ อย่าง Western Digital, Seagate หรือ Toshiba
• ซื้อการ์ดจอแยก ถ้าจะใช้. การ์ดจอแยก (dedicated graphics card) นั้นขาดไม่ได้เลย ถ้าจะเล่นเกมใหม่ๆ แต่ถ้าเป็นคอมใช้งานทั่วไปประจำวัน จะไม่มีก็ได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรียกว่าของมันต้องมีสำหรับคอเกมและนักตัดต่อคลิปมือฉมัง[5]
• ก็เหมือนชิ้นส่วนอื่นๆ คือต้องเช็คก่อนซื้อ ว่าการ์ดจอใหม่นี้ใช้ได้กับเมนบอร์ดที่มี แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
• CPU ของ Intel แทบทั้งหมดจะใช้การ์ดจอออนบอร์ด เลยไม่ต้องใช้การ์ดจอแยกถ้าแค่จะใช้คอมทำงานทั่วๆ ไป อย่างงานเอกสาร ท่องเว็บ เช็คอีเมล และเล่นเกมออนไลน์นิดๆ หน่อยๆ ส่วน AMD จะมี CPU 2200G และ 2400G ที่มาพร้อมการ์ดจอออนบอร์ดที่แรงพอตัว เล่นเกมด้วย settings ต่ำๆ ได้ การ์ดจอแยก (dedicated graphics card) นั้นขาดไม่ได้เลย ถ้าจะเล่นเกมใหม่ๆ แต่ถ้าเป็นคอมใช้งานทั่วไปประจำวัน จะไม่มีก็ได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรียกว่าของมันต้องมีสำหรับคอเกมและนักตัดต่อคลิปมือฉมัง
• power supply ต้องรับไหว. power supply คือตัวจ่ายไฟให้ทุกชิ้นส่วนในคอม บางเคสคอมก็มาพร้อม power supply ในตัว แต่บางทีก็ต้องหามาติดตั้งเอง โดย power supply ต้องแรงพอจะจ่ายไฟให้ชิ้นส่วนทั้งหมด แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง power supply ต้องแรงจนกินไฟเปล่าๆ เพราะจะจ่ายไฟเป็นกำลังวัตต์เท่าที่ใช้ และจะจำกัดวัตต์ตามที่ระบุไว้เท่านั้น
• เลือกเคสที่ทั้งใช้ดีและสวยงาม. เคสคือส่วนที่ครอบทุกชิ้นส่วนของคอมไว้ บางเคสก็มาพร้อม power supply ในตัว แต่ถ้าจะประกอบคอมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ ก็แนะนำให้ใช้ power supply แยก เพราะ power supply ที่ติดมากับเคสส่วนใหญ่คุณภาพไม่สูงเท่าไหร่[6]
• ขนาดของเคสนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวน drive bay และ card slots ที่มี รวมถึงขนาดและประเภทของเมนบอร์ดด้วย เคสคือส่วนที่ครอบทุกชิ้นส่วนของคอมไว้ บางเคสก็มาพร้อม power supply ในตัว แต่ถ้าจะประกอบคอมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ ก็แนะนำให้ใช้ power supply แยก เพราะ power supply ที่ติดมากับเคสส่วนใหญ่คุณภาพไม่สูงเท่าไหร่
Post a Comment